เกี่ยวกับเรา

การร่วมกิจกรรมแสดงความเห็นในกระทู้ ผู้เข้าร่วมพึงต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

กฎ กติกา และมารยาท

1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว เกินกว่าที่บรรทัดฐานของสังคมจะยอมรับได้
3. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทาง ลามก อนาจาร รุนแรง อุจาด
4. ห้ามเสนอข้อความอันมีเจตนาใส่ความบุคคลอื่น ให้ได้รับการดูหมิ่นเกลียดชังจากบุคคลอื่น โดยไม่มีแหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน
5. ห้ามเสนอข้อความอันเป็นการท้าทาย ชักชวน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท หรือก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น โดยมูลแห่งความขัดแย้งดังกล่าว ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยเสรีเช่นวิญญูชน พึงกระทำ
6. ห้ามเสนอข้อความกล่าวโจมตี หรือวิพากษ์วิจารณ์ในทางเสียหายต่อ ศาสนา หรือคำสอนของศาสนาใดๆ ทุกศาสนา
7. ห้ามใช้นามแฝงอันเป็นชื่อจริงของผู้อื่น โดยมีเจตนาทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด และเจ้าของชื่อผู้นั้นได้รับความเสียหาย หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง
8. ห้ามเสนอข้อความอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในระหว่างสถาบันการศึกษา หรือระหว่างสังคมใดๆ
9. ห้ามเสนอข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เช่น อีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเบอร์โทรศัพท์ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีโอกาสผิดพลาดคลาดเคลื่อน และเป็นสื่อที่สามารถใช้ในการกลั่นแกล้งได้ง่ายกว่าชนิดอื่น webboard.narit.or.th จึงไม่มีวัตถุประสงค์ในการเป็นสื่อกลางในการนำเสนอ
10. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของสังคม
11. กระทู้ร้องเรียนสินค้าและบริการ สงวนสิทธิ์ให้เฉพาะสมาชิกที่ยืนยันด้วยบัตรประชาชนเท่านั้น
12. เพื่อความสะดวกในการให้บริการ ปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ สำรวจความนิยม และปฏิบัติตามกฎหมาย webboard.narit.or.th จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลของท่านบางประการ เช่น หมายเลขไอพี (IP Address) ชนิดของโปรแกรมค้น (Web Browser) บันทึกหน้าเว็บ (Web Page) เวลาเข้าเยี่ยมชม (Access Times) รวมถึงการใช้ฐานข้อมูลเดียวกับเว็บไซต์และแอบพลิเคชั่นในเครือ เช่น narit.or.th โดยทั้งนี้ข้อมูลที่ทาง webboard.narit.or.th จัดเก็บนั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่ต่อบุคคลที่สามในลักษณะที่จะสามารถระบุตัวบุคคลผู้เข้าใช้งานได้ แต่จัดเก็บเป็นข้อมูลผู้เข้าใช้งานโดยรวมไปเพื่อนำไปประกอบการวิเคราะห์สำรวจความนิยม เว้นแต่เป็นไปเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น

webboard.narit.or.th ขอสงวนสิทธิยกเลิกการให้บริการแก่สมาชิกซึ่งไม่ให้ความร่วมมือในการรักษากฎ กติกาและมารยาทของเว็บไซต์ เพื่อรักษาบรรยากาศการสนทนาที่ดีโดยรวม

นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

  1. webboard.narit.or.th ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าเยี่ยมชมและใช้บริการเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โดยนโยบายนี้กำหนดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือใช้บริการได้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัว และทราบถึงทางเลือกเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวเมื่อเข้าใช้เว็บไซต์
  2. วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล webboard.narit.or.th เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้เข้าใช้ การเสิร์ชข้อมูล เพื่อทำให้เข้าใจพฤติกรรมและตอบสนองความต้องการของผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือใช้บริการ เพื่อปรับแต่งตัวเลือกฟังก์ชั่นการใช้งาน รวมไปถึงเพื่อการพัฒนา Big data และ A.I. (ปัญญาประดิษฐ์) ต่อไปในอนาคต
  3. webboard.narit.or.th มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร webboard.narit.or.th มีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการจากการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต การสูญหาย การใช้ข้อมูลในทางที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ การเปิดเผยและการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เช่น firewall, encode, การควบคุมและการอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูล รวมถึงตรวจสอบว่าข้อมูลที่มีอยู่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน แต่ไม่รวมถึงข้อมูลที่ webboard.narit.or.th ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้บริการให้เปิดเผยแก่บุคคลภายนอกตามที่มีการเชื่อมต่อบัญชี
  4. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ webboard.narit.or.th จัดเก็บ
    1. ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการทั่วไป เช่น cookies, ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจัดเก็บเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลของผู้เข้าเยี่ยมชมหรือบริการเว็บไซต์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานเฉพาะบุคคลในการแสดงผลซึ่งผู้ใช้งานอาจมีความสนใจเป็นพิเศษ รวมถึงรักษาบรรยากาศการใช้งานโดยรวม
    2. ข้อมูลที่ผู้เข้าใช้บริการได้ลงทะเบียนสมัครสมาชิก เช่น ชื่อสมาชิก (ชื่อ login), email, หมายเลขโทรศัพท์, วันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลสมาชิก โดยจัดเก็บเพื่อวัตถุประสงค์ในการยืนยันตัวบุคคลและป้องกันการปลอมแปลงตัวตน แต่ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประชาชนที่ผู้สมัครสมาชิกได้ใช้ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก, และไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ใช้บริการ Facebook หรือ Google+ ยกเว้น แต่ email ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบัญชี
      อนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกจะถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลา 15 วันหลังจากการตรวจสอบข้อมูลเพื่อใช้ในการยืนยันตัวบุคคล
    3. ข้อมูลของผู้แจ้งลบกระทู้ เช่น ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์, email, หมายเลขโทรศัพท์, วันและเวลาที่แจ้งลบ จัดเก็บเพื่อจัดทำรายงานการแจ้งลบ
    4. ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จัดเก็บตามข้อบังคับประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
    5. ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลการตั้งและตอบกระทู้, การร่างกระทู้ (draft), link, รูปภาพในคลังภาพของ login, gifs, videos, ข้อมูลการปรับแต่ง tag, ติดตามหรือบล็อก tag, การแสดงความรู้สึก, กดให้คะแนน, กดติดตาม, ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์การใช้งาน, ช่องทางการใช้งาน, ตำแหน่งของการเข้าใช้งาน, ข้อมูลการสนทนาหลังไมค์, log files โดยจัดเก็บเพื่อรักษาบรรยากาศการใช้งานและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งาน
    6. ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บเพื่อร่วมกิจกรรมกับทาง webboard.narit.or.th เช่น ชื่อนามสกุล, ที่อยู่, หมายเลขโทรศัพท์, email จะถูกเก็บเพื่อใช้ในการติดต่อสมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  5. ระยะเวลาในการเก็บรวมรวบข้อมูลส่วนบุคคล webboard.narit.or.th ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้เข้าใช้บริการซึ่งได้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกจะถูกจัดเก็บไว้ตลอดระยะเวลาการเข้าใช้บริการ
  6. การถอนความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจถอนความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของตนเมื่อใดก็ได้ โดยการถอนความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจะมีผลเป็นการ deactivate สถานะสมาชิกซึ่งอาจทำให้ผู้เข้าใช้บริการไม่ได้รับประโยชน์ในการเข้าใช้บริการบางอย่าง ดังนี้
    1. ผู้เข้าใช้บริการจะไม่สามารถเข้าถึงหน้า Profile ของตนเองได้อีก
    2. ผู้เข้าใช้บริการจะไม่สามารถเข้าถึงหน้าสนทนาส่วนตัวของตนได้อีก โดยที่คู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งจะยังคงสามารถเข้าถึงหน้าสนทนา ที่ได้เคยสนทนาค้างไว้ได้ตามปกติ
    3. ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ซึ่ง webboard.narit.or.th จะต้องจัดเก็บตามกฎหมายยังคงต้องจัดเก็บอยู่ต่อไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
    4. กระทู้ที่ผู้เข้าใช้บริการได้เคยตั้งหรือตอบไว้จะไม่ถูกลบออกไปด้วย ซึ่งจะต้องทำการแจ้งลบเข้ามา โดยทางแอดมินจะพิจารณาลบอย่างเช่นกระทู้ทั่วไป
    5. ผู้เข้าใช้บริการ reactivate สถานะสมาชิกได้ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงหน้า Profile และ หน้าสนทนาส่วนตัวของตนได้ตามปกติ
    6. การถอนความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะไม่สามารถถอนความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลประเภท data science ที่ได้จัดเก็บไปก่อนมีการแจ้งถอนความยินยอมได้ อย่างไรก็ตามการถอนความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นผลให้ไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลซึ่งถอนความยินยอมไปใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้อีก
  7. การแลกเปลี่ยนข้อมูล webboard.narit.or.th ไม่มีนโยบายเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าใช้บริการในลักษณะเจาะจงเป็นรายบุคคลแก่บุคคลภายนอก เว้นแต่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม webboard.narit.or.th มีความจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เฉพาะแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
    1. กับบริษัทในเครือ webboard.narit.or.th เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการใช้บริการเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องไปได้ในทันที
    2. กับบริษัทอื่นซึ่งได้ให้บริการแก่ webboard.narit.or.th เช่น Analytics โดย webboard.narit.or.th อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ให้บริการภายนอกที่ให้บริการหรือได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนในนามของ webboard.narit.or.th ซึ่งผู้ให้บริการภายนอกเหล่านี้อาจเป็นการให้บริการประเภท ช่วยในการประมวลผลการทำรายการ วิเคราะห์สถิติ ส่งโฆษณา วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งาน เป็นต้น
    3. กับบริษัทอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือการพัฒนาระบบของเว็บไซต์
    4. กรณีที่ webboard.narit.or.th ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าใช้งานมาจากบุคคลฝ่ายที่สาม webboard.narit.or.th จะแจ้งไปยังเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกครั้งเพื่อขอความยินยอมอีกครั้ง
  8. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
    1. ผู้เข้าใช้บริการทั่วไปมีสิทธิขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน (cookies) ได้โดยต้องนําอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์ webboard.narit.or.th เช่น computer notebook, tablet, โทรศัพท์มือถือ มาที่สำนักงานใหญ่เว็บไซต์ webboard.narit.or.th เพื่อขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
    2. ผู้เข้าใช้บริการซึ่งได้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกมีสิทธิขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้โดยนําหลักฐาน ได้แก่
      1. บัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียน
      2. email ที่ได้ใช้ลงทะเบียน
      3. ชื่อนามแฝง
      4. รหัสผ่านนามแฝง มาที่สำนักงานใหญ่เว็บไซต์ webboard.narit.or.th เพื่อขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
  9. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถติดต่อในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้ที่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 260 หมู่ 4 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 หมายเลขโทรศัพท์ 053121268-9

การหมิ่นประมาท

การโพสต์ข้อความในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่า ผู้โพสต์จะเป็น "ผู้ใด" หากทำให้ "ผู้อื่น" เสียหาย ก็เป็นความผิดตามกฎหมายได้

คำแนะนำเกี่ยวกับการโพสต์แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท
การโพสต์แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงบุคคลอื่นบนเว็บไซต์โดยไม่ระวัง อาจทำให้ท่านได้รับความเดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเท่าที่ผ่านมา มีสมาชิกหลายๆท่าน ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยไม่ทันตั้งตัวเนื่องจากโพสต์แสดงความคิดเห็นในลักษณะนี้ อาทิ
  • นาย ก. สั่งซื้อของทางอินเทอร์เน็ตแล้วไม่ได้รับสินค้า เลยโพสต์ด่าหาว่าคนขายโกงเงิน,คนขายขี้โกง เป็นต้น
  • นาง ข. ด่าผู้อื่นว่ารับสินบน, โกงกิน, รับส่วยใต้โต๊ะ, ประพฤติตนไม่สุจริต เป็นต้น
  • นาย ค. หรือ นาง ง. ด่าว่าคู่สมรสว่ามีชู้หรือมีเมียน้อย, ด่าว่าขายบริการทางเพศ เป็นต้น
  • นาย จ. โพสต์แสดงความคิดเห็นในแง่ร้ายด่า นาง ฉ. แม้ว่าไม่ได้ใส่ชื่อ นาง ฉ. ลงไปตรงๆ ถ้ามีผู้ใดเข้ามาอ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ว่า ข้อความดังกล่าวหมายถึง นาง ฉ. ก็เป็นความผิดได้ เป็นต้น
ยอมเสียเวลาสักนิด เพื่อ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทในอินเทอร์เน็ต ดีกว่า
  1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
  2. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 “ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียงบันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท”
  3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหาย แก่ชื่อเสียง หรือ เกียรติคุณ ของบุคคลอื่น ก็ดี หรือ เป็นที่เสียหาย แก่ทางทำมาหาได้ หรือ ทางเจริญของเขา โดยประการอื่น ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหาย อย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้ ผู้ใด ส่งข่าวสาร อันตนมิได้รู้ว่า เป็นความไม่จริง หากว่า ตนเอง หรือ ผู้รับข่าวสารนั้น มีทางได้เสีย โดยชอบ ในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่า เพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้น ต้องรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่”
ดังนั้นการโพสต์ข้อความในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่า คนโพสต์จะเป็น "ผู้ใด" หากทำให้คนอื่นเสียหาย ก็เป็นความผิดตามกฎหมายได้ เนื่องจากการ หมิ่นประมาทถ้าได้โพสต์หรือกล่าวพาดพิง ถึงใครให้คนอื่นฟัง ก็ถือเป็นการ "ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม" ถ้าข้อความที่โพสต์ ทำให้ผู้อ่านรู้สึก ไม่ดีกับผู้ที่ถูกกล่าวพาดพิงย่อมเป็นการโพสต์หรือกล่าวที่อาจเข้าข่าย "โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง" ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายได้ และเมื่อได้โพสต์ในอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการ "หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา" ซึ่งโทษหนักกว่า ตัวอย่างเช่น

  • นาย A โพสต์ด่า นาง B ว่าเป็นเมียน้อย (ฎ.472/2540)
  • นาย C ด่านาง D ว่าเป็น กระหรี่ มีผัวมาแล้วหลายคน (ฎ.621/2518)
  • นาง E ด่านาย F ว่าบ้ากาม หมายถึงเป็นคนมักมากในกามคุณผิดวิสัยบุคคลทั่วไป (ฎ.782/2524)
  • นาง G ด่านาย H ว่ากินสินบน (ฎ.2296/2514) เป็นต้น
สรุปได้ว่าการโพสต์ข้อความละเมิดผู้อื่นบนเว็บไซต์สามารถเข้าข่ายมีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ ผู้โพสต์จึงอาจเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดีทางศาล และถูกตัดสินให้ต้องรับผิดตามการพิจารณาของศาลได้
"อย่างไรก็ตามบางครั้งเมื่อท่านพบกับความไม่เป็นธรรม กฎหมายก็ไม่ได้ปิดปากท่านเสียทีเดียว" หากผู้โพสต์พิสูจน์ว่าการที่ตนได้โพสต์พาดพิงผู้อื่นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมนั้น เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย ดังนี้ ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การจะพิสูจน์เรื่องข้อยกเว้นนั้น จะต้องเข้าเงื่อนไข 2 ประการ ด้วยกัน คือ ต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต คือ ต้องเป็นการพูดหรือโพสต์ที่เกิดจากการที่ตนได้ประสบพบเจอ เหตุการณ์นั้นๆโดยตรงและ ต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ด้วย
  1. เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรม เช่น
    1. การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตคือเชื่อว่าเป็นจริง แม้จะเข้าใจผิดก็ได้รับความคุ้มครอง (ฎ.770/2526)
    2. การแจ้งความตามสิทธิหรือแสดงความเห็นเมื่อเจ้าพนักงานถามโดยสุจริต ย่อมไม่เป็นหมิ่นประมาท (ฎ.370/2520)
    3. การกล่าวตามความคิดของตน โดยเชื่อว่าเป็นความจริงเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน (ฎ.1972/2517)
    4. หากไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตแต่มุ่งใส่ร้ายเป็นส่วนตัว ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 329(1) (ฎ.1203/2520)
    5. พูดในลักษณะที่เป็นการประจาน จะยกเหตุเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดไม่ได้ (ฎ.3725/2538)
  2. ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
  3. ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ กรณีนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องของส่วนรวมที่ประชาชนชอบที่จะติชมได้ เช่น เรื่อง ศาสนา เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ เป็นต้น
  4. ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330
การที่จำเลยจะนำสืบเพื่อพิสูจน์ความจริงได้นั้น กฎหมายได้จำกัดมิให้ใช้สิทธิในการพิสูจน์ไว้ ถ้าเข้ากรณี ดังนี้
  • ถ้าข้อความที่หาว่าหมิ่นประมาทนั้น เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และ
  • การพิสูจน์ความจริงนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

แต่ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนเสียก่อนว่า เมื่อเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายแล้วจะไม่เป็นการหมิ่นประมาทและจะไม่โดน ฟ้องร้องนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ การที่จะพิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนโพสต์นั้น เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ ในชั้นศาล ซึ่งเป็นเรื่องหลังจากที่ตนถูกฟ้องร้องไปแล้ว

การโพสต์ข้อความบนอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ท่านจะไม่มีตัวตนและไม่สามารถตามตัวท่านได้ เมื่อมีการโพสต์ข้อความอันเข้าข่ายหมิ่นประมาท ตามกฎหมาย หากพนักงานเจ้าหน้าที่ ของรัฐร้องขอข้อมูลของสมาชิกหรือไอพีแอดเดรส ที่โพสต์ข้อความดังกล่าว ทางเว็บไซต์ มีความจำเป็น ที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ เนื่องจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 18(2), (3) กำหนดหน้าที่ดังกล่าวเอาไว้ ดังนี้

มาตรา 18 “ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด และหาตัวผู้กระทำความผิด...

  • (2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • (3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือ ที่อยู่ในความครอบครองหรือ ควบคุมให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ ...”
โปรด ระมัดระวังในการโพสต์แสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่านเอง

คำแนะนำนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้ในการอ้างอิงได้ หากต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จาก หนังสือกฎหมาย หรือเว็บไซต์ต่างๆได้ อาทิ

  • “สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่ และ ทนงศักดิ์ ดุลยกาญจน์, “หมิ่นประมาทและดูหมิ่น”, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2549)”
  • “หยุด แสงอุทัย, “กฎหมายอาญา ภาค 2-3”, คำสอนปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2520)”
  • “จิตติ ติงศภัทิย์, “คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2ตอนที่ 2 และภาค 3”, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา), 2524”